วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วันสำคัญของญี่ปุ่น และเทศกาลของญี่ปุ่น

วันสำคัญของญี่ปุ่น
เทศกาลในฤดูต่างๆของญี่ปุ่น
      งานเทศกาลต่างๆ ของญี่ปุ่น เป็นโอกาสที่ผู้คนได้พบปะครั้งสำคัญในทุกภูมิภาคตลอดทั้ง 4 ฤดู ในแต่ละปีการฉลองเทศกาลต่างๆเผยให้เห็นความนึกคิดของชาวญี่ปุ่นซึ่งต้นกำเนิดของงานเทศกาลจะเกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ที่เตือนความทรงจำให้นึกถึงค่านิยมที่ยึดถือกันมานาน เช่น งานเทศกาล โอ-บง ในฤดูร้อน ผู้คนจะกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดและเคารพบรรพบุรุษ
      งานฉลองปีใหม่ในฤดูหนาว งานชมดอกไม้ในฤดูใบไม้ผลิ และเทศกาลชมสีสันของใบไม้เปลี่ยนสีในฤดูใบไม้ร่วง ทั้งหมดล้วนเป็นเทศกาลที่แสดงให้เห็นถึงความรักและชื่นชมในธรรมชาติของชาวญี่ปุ่นได้อย่างชัดเจน  เทศกาลต่างๆ มีขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลทั้ง 4 ซึ่งนำความบันเทิงมาสู่ชุมชนในทุกภาค ตลอดปี มีรายละเอียดดังต่อไปนี้คือ
ฤดูใบไม้ผลิ (มี.ค.-พ.ค.)ฤดูแห่งดอกไม้บาน
      จากวันแรกในต้นมีนาคมที่ดอกเหมยบานกระทั่งวันสุดท้ายของพฤษภาคมเมื่อดอกซากุระทาง ตอนเหนือโรย ถือเป็นช่วงเวลาอันสดใสของธรรมชาติที่งดงาม จึงทำให้มีการฉลองเทศกาล ท่ามกลางธรรมชาติทั่วญี่ปุ่น
เทศกาลในฤดูใบไม้ผลิ
3 มีนาคมเทศกาลฮินะ มัตสุริ ( Hina Matsuri ) เป็นเทศกาลฉลองวันเด็กหญิงโดยการตกแต่ง ตุ๊กตาญี่ปุ่นหลายหลากบนชั้นในบ้าน
13 มีนาคมเทศกาลคะซูกะ ของเจ้าคะซูกะในเมืองนารา จัดให้มีการฟ้อนรำคลาสสิคที่เก่าแก่กว่า 1000 ปี บนเวที
กลางมีนาคม( 15 วัน ) มีการแข่งซูโม่ ครั้งที่ 2 ในโอซาก้า
1-30 เมษายนระบำมิยะโก หรือ ระบำซากุระที่แสดงโดย นักแสดงที่ญี่ปุ่น ” ไมโกะ ” ในเกียวโต
8 เมษายนเทศกาลถวายดอกไม้ ( Hana Matsuri ) ตามวัดพุทธต่าง ๆ เพื่อระลึกถึงวันประสูติของ พระพุทธเจ้า
14-15 เมษายนเทศกาลทะคะยะมะ ( Takayama Matsuri ) ของศาลเจ้าฮิเอะในเมืองทะคะยะมะ พร้อง ขบวนรถแห่ศาล เจ้าอันตระการตา
16-17 เมษายนเทศกาลยะโยอิ ( Yayoi Matsuri ) ที่ศาลเจ้าฟุตะระซัน ในเมืองนิกโก้ มีขบวนแห่ตกแต่ง สวยงาม
3-4 พฤษภาคมเทศกาลฮะคะตะ โดนทะคุ ( Hakata Dontaku ) ในเมืองฟุคุโอกะ มีขบวนแห่บนหลังม้า ของเทพเจ้าในตำนานญี่ปุ่น
3-5 พฤษภาคมเทศกาลเล่นว่าว ที่เมืองฮะมะมัตสึ เป็นสนามว่าวที่มีผู้เข้าแข่งขันว่าวขนาดใหญ่ พยายามจะตัดเชือกของฝ่ายตรงข้าม
5 พฤษภาคมเทศกาลฉลองเด็กชาย มีการประดับธง ปลาคาร์พหลากสีตามจำนวนลูกชายแต่ละบ้าน ซึ่งโบกสะบัดโต้ลมฤดูใบไม้ผลิอย่างสง่ามงามมาก
11 พฤษภาคมเทศกาลจับปลาโดยนกกาน้ำ บนแม่น้ำนะงะระในกิฟุ ( กระทั่ง 15 ตุลาคม )
15 พฤษภาคมเทศกาลอะโออิ ( Aoi Matsuri ) ที่เกียวโตมีขบวนแห่ซามูไรโบราณ กลางพฤษภาคม ( 15 วัน ) มีการแข่งซูโม่ครั้งที่ 3 ในโตเกียว
17-18 พฤษภาคมเทศกาลศาลเจ้าโทโซงู ในเมืองนิโก้ มีขบวนแห่ นักรบกว่า 1000 คน
วันอาทิตย์ที่ 3ของ พ.ค. เทศกาลชมเรือ ( Mifune Matsuri ) บนแม่น้ำโออิ ในเกียวโตมีแห่ขบวนเรือโบราณ
วันอาทิตย์ที่ 2 ของ พ.คเทศกาลแห่ศาลเจ้า ( Sanja Matsuri ) ของศาลเจ้าอะซะกุซะ มีการแห่ศาลเจ้าใหญ่ ๆ 3 ศาล อีกทั้งย่อย ๆ อีกร้อยกว่าศาล

ฤดูร้อน ( มิถุนายน – สิงหาคม ) เป็นเวลาของการเที่ยวเล่นในแดนธรรมชาติ
      ฤดูร้อนเป็นฤดูที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์พร้อมความเขียวขจีทั่วประเทศในเขียวของซากุระ เมเปิ้ล โอ๊คในป่าเขาที่ตัดกับสีเขียวเข้มของต้นสน และต้นไผ่ ที่โอนอ่อนตามสายลม
ฤดูร้อนเป็นฤดูกาลแห่งดอกไม้ไฟ เกือบทุกคืนชุมชนเมืองต่าง ๆ จะมีการจุดดอกไม้ไฟอย่างมีสีสรรและชีวิตชีวา และระบำพื้นเมือง ” Bon Odori ” เป็นจุดนัดพบของชาวชนบทตามท้องถิ่นของเพื่อนและผู้มาเยือนเทศกาลฤดูร้อนทั่วญี่ปุ่น
เทศกาลในฤดูร้อน
กลาง มิ.ย.เทศกาลซันโน ( Sanno Matsuri ) ที่ศาลเจ้าฮิเอะ ในโตเกียวมีการแห่ศาลเจ้าผ่านถนนที่ จอแจในเขตอะซะกุซะ
เสาร์ที่ 2 ของมิ.ย.เทศกาลม้า ( Chagu-chagu Umakko Horse Festival ) ในเมืองโมริโอกะ ซึ่งมีแห่ขบวน ม้าประดับอย่าง มีสีสรร
7 ก.ค.เทศกาลดวงดาว ( Tanabata Festival ) ทั่วญี่ปุ่นที่เมืองเซนไดมีการประดับโคมกระดาษ หลากสีสวยงาม แขวนบนลำไม้ไผ่มีชื่อเสียงที่สุด
กลาง ก.ค.( 15 วัน ) มีการแข่งซูโม่ ครั้งที่ 4 ที่นาโงย่า
13-15 ก.ค.เทศกาล ( Bon Festival ) ทั่วประเทศ พิธีทางศาสนานี้เพื่อระลึกถึงดวงวิญญาณที่ล่วง ลับ ระบำโบราณ Bon Odori จัดขึ้นเพื่อดวงวิญญาณเหล่านั้น
14 ก.ค.เทศกาลไฟ ( Fire Festival ) ที่ศาลเจ้านาจิคะจึระ มีการแบก 12 คบเพลิงใหญ่ โดยนัก บวชในชุดขาว
1-15 ก.ค.เทศกาลฮะคะตะ กิออน ยะมะงะซะ ในฟุคุโอกะ มีการแห่ขบวนรถใหญ่ในวันที่ 15
16-17 ก.ค.เทศกาลกิออน เป็นเทศกาลที่ใหญ่ที่สุดในเกียวโต ย้อนยุคไปใน ศตวรรษที่ 9 จะมี ขบวนแห่ชุดแต่งกายโบราณผ่านถนนสายหลัก
ก.ค. หรือ ส.ค.เทศกาลดนตรี ของ ศาลเจ้า Itsukushima ใกล้เมืองฮิโรชิม่า มีระบำ และดนตรี ราชสำนักแสดง
14-25 ก.ค.เทศกาลเทนยิน ของศาลเจ้าเทนมันงูใน โอซาก้า มีขบวนแห่ศาลเจ้าบนเรือเหนือ ลำน้ำโดจิมะ
1-7 ส.ค.เทศกาลเนบุตะ ในเมืองอะโอโมริ ( 2-7 สิงหาคม ) เมืองฮิโรซากิ ( 1-7 สิงหาคม ) มีขบวนแหโครงหุ่นประดับไฟ
3-6 ส.ค.เทศกาลโคมไฟ ที่เมืองอะคิตะ มีขบวนแห่แผงโคมไฟแขวนบนไม้ไผ่
5-7 ส.ค.เทศกาลฮะนะงะซะ ในเมืองยะมะงะตะ มีขบวนฟ้อนรำของชาวเมือง เป็น 10000 ในชุดหมวกฟางติดดอกไม้เทียม
12-15 ส.ค.เทศกาลระบำอะว่า ที่เมืองโตคุชิมะ มีการร้องรำทั้งกลางวันกลางคืน
16 ส.ค.เทศกาลไดมอนหยิ เป็นเทศกาลเพื่อส่งดวงวิญญานผู้ล่วงลับซิ่งจัด บนเนินเขาซึ่ง เห็นได้จากเมืองเกียวโต

ฤดูใบไม้ร่วง ( กันยายน – พฤศจิกายน ) เป็นฤดูแห่งการเก็บเกี่ยวและใบ้ไม้เปลี่ยนสี
      เมื่อเข้าสู่ฤดูใบ้ไม้ร่วงในเดือนกันยายน และตุลาคมเป็นเดือนที่น่าเพลิดเพลินกับความเย็นส่บายในฤดูนี้ นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงแห่งสีสรรเป็นสีทองสีบรอนซ์และสีเหลือง แต่งเติมขุนเขาราวกับสีสรรแห่งพรม ฤดูเก็บเกี่ยวในชนบททุ่งนาเปลี่ยนเป็นสีทอง เวลาแห่งเทศกาลและกีฬาได้มาบรรจบกับกิจกรรมทางวัฒนธรรมทั่วประเทศ งานเทศกาลดอกเบญจมาศซึ่งแสดงอยู่ทั่วประเทศเป็นสัญลักษณ์
เทศกาลในฤดูใบไม้ร่วง
ฤดูใบไม้ร่วง 
16 ก.ยเทศกาลขี่ม้ายิงธนู ที่ศาลเจ้าทซิรุหงะโอกะ ฮะจิมังงู ในเมืองคะมะคุระ
กลาง ก.ย.(15 วัน ) แข่งซุโม่ครั้งที่ 5 ในโตเกียว
7 – 9 ต.ค.เทศกาลคุนจิ ของศาลเจ้าซูวะในเมืองนางาซะกิ มีระบำมังกรจีนดั้งเดิม
9 – 10 ต.ค.เทศกาลทะคะยะมะ แห่งศาลเจ้าฮาจิมังงุ ซึ่งมีขบวนรถสีสรรต่าง ๆ
กลาง ต.ค.เทศกาลนาโงย่า มีขบวนพาเหรดซามูไรตามถนนในเมือง
กลาง ต.ค. และ พ.ย.เทศกาลดอกเบญจมาศที่ศาลเจ้าเมหยิ และวัดอะซะคุซะในโตเกียว
17 ต.ค.เทศกาลฤดูใบไม้ร่วง ของศาลเจ้าโทโซหงุ ในเมืองนิกโก้ มีขบวนพาเหรด นักรบ โบราณใส่ชุดเสื้อเกราะ
22 ต.ค.เทศกาลยุคสมัย เป็นเทศกาลของศาลเจ้าเฮอันในเกียวโตซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 เทศกาล ใหญ่ของเกียวโต
2 – 4 พ.ย.เทศกาลโอคุนจิ ของศาลเจ้าคะระทจึในซะหงะซึ่งมีขบวนพาเหรดที่มีสีสรร
3 พ.ย.ขบวนแห่ซามูไร ในเมืองฮาโกเน่ กลาง พ.ย. ( 15 วัน ) แข่งซูโม่ครั้งที่ 6 ในเมืองฟุคุโอกะ
15 พ.ย.เทศกาลเจ็ดห้าสาม สำหรับเด็กอายุ 3,5,7 ปี ไปศาลเจ้าเพื่อขอพรจากเทพเจ้า ให้มีสุขภาพดี

ฤดูหนาว ( ธันวาคม – กุมภาพันธ์ ) เป็นฤดูแห่งการเพลิดเพลินกับหิมะ
      ฤดูหนาวในญี่ปุ่นไม่ค่อยรุนแรงยกเว้นทางเหนือสุด อุณหภูมิโดยปกติจะอบอุ่นด้วยแสงอาทิตย์และฟ้าสีคราม
อีกด้านหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเทศกาลต่าง ๆ จะเกี่ยวพันกับหิมะและน้ำแข็ง นักท่องเที่ยวจะเพลิดเพลินกับหิมะ และรูปแกะสลักและมีส่วนร่วมในประเพณีท้องถิ่นตามฤดูนั้น เทศกาลงานต่าง ๆ ทั่วญี่ปุ่นถูกจัดขึ้นต่อเนื่องกับเทศกาลปีใหม่อันเป็นวันที่สำคัญที่สุดสำหรับชาวญี่ปุ่น
เทศกาลในฤดูหนาว
15 – 18 ธ.ค.เทศกาล อ็อง มัตสุริ ของศาลเจ้าคะซูกะใน เมืองนารา
17 – 19 ธ.ค.เทศกาลโทริ-โน๊ะ-อิจิ วัดอะซะคุซะคันนอนในโตเกียว
31 ธ. ค.เทศกาลไหว้พระ ที่ศาลเจ้ายะซะกะในเกี่ยวโต
1 – 3 ธ.ค.เทศกาลปีใหม่ ร้านค้าโรงงานธุระกิจต่าง ๆ จะฉลองด้วยอาหารมื้อพิเศษแต่ง ชุดกิโมโนที่สวยที่สุดและเยือนวัดหรือศาลเจ้า เพื่อไหว้พระขอพรให้มีสุขภาพดี และมีความสุขตลอดปี
6 ม.ค.ขบวนสาธิตการดับเพลิงในโตเกียว
กลาง ม.ค.( 15 วัน ) การแข่งขันซูโม่ ครั้งที่ 1 ในโตเกียว
ก่อนวันบรรลุนิติภาวะเทศกาลเผาหญ้า บนเขา ในเมืองนารา
ต้น ก.พ. ( 7 วัน )เทศกาลหิมะ ในเมืองซัปโปโรบนเกาะฮ็อกไกโด ที่มีชื่อที่สุดในญี่ปุ่น มีรูปแกะ สลักหิมะและน้ำแข็งอันมหึมาต่าง ๆ มากมาย
ต้น-กลาง ก.พ.เทศกาลหิมะ ที่อะซะฮิคะวะ อะบะชิริและเมืองอื่น ๆ ในฮ็อกไกโด
3 – 4 ก.พ.เทศกาลปัดรังควาน เป็นพิธีไล่สิ่งอัปมงคลทำกันตามวัดใหญ่ทั่วประเทศ
3 – 4 ก.พ.เทศกาลแห่งโคม ของศาลเจ้าคะซุกะ ในเมืองนารา 15 – 16 ก.พ. เทศกาลกระท่อมหิมะ ของเมืองโยโคเทะในอะคิตะ
วันเสาร์ที่ 3 ของ ก.พ.

เทศกาลเปลือย ที่วัดไซไดหยิในเมืองโอคะยะมะ



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
ชื่อ บริษัท ไอแอมทัวร์ เอ็กซ์เพิร์ธ เซ็นเตอร์ อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด
ที่อยู่ 600/24 โครงการ บีสแควร์พระราม9-เหม่งจ๋าย ซ.สหการประมูล
แขวง/เขต วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310

โทร 02-530-7200 / 02-530-7202 / 02-530-7145 / 02-530-7148 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น