วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ทัวร์ญี่ปุ่น ภูเขาไฟฟูจิ

 
 
1024px-Lake_Motosu04
 
 
ภูเขาไฟฟูจิ (ฟูจิซัง富士山) ตั้งอยู่บนเกาะฮอนชู เป็นภูเขาสูงที่สุดในญี่ปุ่น 3,776.24 เมตร (12,389 ฟุต) เป็นภูเขาไฟชนิดStratovolcano หรือ Composite Cone Volcano ซึ่งจะมีความสมมาตรกัน การปะทุครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 1707 – 08 ภูเขาไฟฟูจิแห่งนี้ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของโตเกียวโตเกียวห่างไปประมาณ 100 กิโลเมตร และสามารถมองเห็นกันได้ในวันฟ้าโปร่ง ภูเขาไฟฟูจิมีรูปทรงกรวยขนาดสมมาตร วัดความยาวรอบวงได้ 125 กิโลเมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 48 กิโลเมตรช่วงปลายยอดเขานั้นถูกปกคลุมด้วยหิมะเป็นเวลาหลายเดือนในแต่ละปี อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะสัญลักษณ์ของญี่ปุ่น และมักจะปรากฏอยู่บนงานศิลปะและภาพถ่าย รวมถึงเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเยี่ยมชมและเป็นที่ชื่นชอบของนักปีนเขา ภูเขาไฟฟูจิแห่งนี้ เป็นหนึ่งใน “สามภูเขาศักดิ์สิทธิ์” (三霊山 Sanreizan) ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอีกสองที่คือ เขาทาเทะ และเขาฮาคุ เนื่องจากมีความพิเศษของความงดงาม เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ และได้ถูกขึ้นให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในวันที่ 22 มิถุนายน ปี 2013
 
สาเหตุที่ภูเขาไฟฟูจิได้รับเลือกจากยูเนสโกให้เป็นมรดกทาง “วัฒนธรรม” แทนที่จะเป็นทาง “ธรรมชาติ” มากกว่านั้น เป็นเพราะภูเขาไฟฟูจิได้สร้างแรงบันดาลใจให้ศิลปินและกวีต่างๆมากมาย และเป็นเป้าหมายของการจาริกแสวงบุญมาเป็นร้อยๆปี
 
ความหลากหลายของการเรียกชื่อ
ในภาษาอังกฤษ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “ภูเขาไฟฟูจิ” บางแหล่งอ้างอิงเป็น “ฟูจิซัง” “ฟูจิยามา” หรือ “ภูเขาฟูจิยามา” (คำว่า yama ยามะ แปลว่า ภูเขา ในภาษาญี่ปุ่น) ส่วนในญี่ปุ่นจะเรียกกันว่า “ฟูจิซัง” คำว่า “san” ในภาษาญี่ปุ่น ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง “คุณ”อย่าง Watanabe-san แต่เป็นคำอ่านของตัวคันจิ山(ภูเขา)
 
ประวัติและที่มา
ภูเขาไฟฟูจิ เป็นภูเขาไฟที่น่าสนใจและเป็นถูกกล่าวถึงไว้อย่างแพร่หลายบนชิ้นงานศิลปะแบบญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด วรรณคดีหรือบทกวีมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลังจากปี 1600 ที่นครเอโดะ (หรือโตเกียวในปัจจุบัน) กลายเป็นเมืองหลวงและชาวบ้านสามารถมองเห็นภูเขาไฟฟูจิได้ขณะที่เดินทางอยู่บนถนนโทไกโด หรือ East Sea Road ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุด อาทิเช่น ”36 Views of Mount Fuji” และ “One Hundred Views of Mount Fuji” ของอาจารย์โฮคุไซ อีกทั้งยังมีผลงานของอาจารย์อุทากาวะ ฮิโรชิเกะ ในชื่อที่เหมือนกันว่า ”36 Views of Mount Fuji” ในปี 1858
 
ว่ากันว่า การปีนขึ้นภูเขาไฟฟูจินั้นเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ส. 663 โดยพระสงฆ์รูปหนึ่ง ตรงยอดปลายสุดของภูเขาฟูจินั้นเป็นที่เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์ และไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขึ้นไป จนถึงช่วงยุคสมัยเมจิ ซามูไรสมัยก่อนใช้บริเวณฐานภูเขาเป็นสถานที่ฝึกตน ซึ่งในปัจจุบันตั้งอยู่ใกล้เมืองโกเทมบะ สถานที่ที่โชกุนมินะโมะโตะ โนะ โยริโทโมะ ใช้เป็นสนามแข่งยิงธนูบนหลังม้า
 
สำหรับการขึ้นเขาครั้งแรกโดยชาวต่างชาติ เกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน ในปี 1868 โดย เซอร์ รูเทอร์ฟอร์ด อัลคอกค์ ใช้เวลาเดินทางจากตีนเขาจนถึงปลายเขาทั้งหมดเป็นเวลา 8 ชั่วโมงและอีก 3 ชั่วโมงในการลงจากเขา ซึ่งเรื่องเล่าของอัลคอกค์ ได้ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Capital of the Tycoon เป็นครั้งแรก และได้เผยให้เห็นเรื่องของภูเขาของประเทศทางตะวันออกมากยิ่งขึ้น เลดี้แฟนนี้ พาคซ์ ภรรยาของ เซอร์ แฮร์รี่ พาคซ์ ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตอังกฤษ เป็นผู้หญิงที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ประสบความสำเร็จในการขึ้นภูเขาไฟฟูจิในปี 1869 รวมไปถึงช่างภาพชาวอิตาเลียน-อังกฤษ เฟลิกซ์ บิเอโต ที่ปีนภูเขาไฟได้ในปีเดียวกัน
 
ในวันที่ 5 มีนาคม ปี 1966 เครื่องบินโบอิ้ง 707 เที่ยวบิน BOAC 911 ได้ตกแล้วพุ่งลงใกล้ๆกันกับสถานีที่ 5 ของทางปีนเขาเส้นทางโกเทมบะ หลังจากบินออกจากสนามบินนานาชาติโตเกียวเพียงครู่เดียว ในเหตุการณ์นี้ ผู้โดยสารทั้ง 113 คนและ พนักงานบนเครื่องบินทั้ง 11 คนทั้งหมดเสียชีวิตทันที ซึ่งเหตุการณ์ที่เลวร้ายครั้งนี้ ต่อมาได้ถูกบันทึกว่าสาเหตุมาจากการเคลื่อนไหวผิดปกติของบรรยากาศที่เกิดจากคลื่นหลังภูเขา และไม่ไกลจากสถานีที่ 5 ของทางปีนเขาเส้นทางโกเทมบะ ก็ได้มีการสร้างอนุสรณ์เอาไว้ เพื่อให้ระลึกถึงเหตุการณ์อันน่าเศร้าครั้งนี้
 
ในปัจจุบัน ภูเขาไฟฟูจิเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวและการปีนเขาของนานาชาติ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 อาจารย์นักประชาธิปไตยของสถาบัน Chautauqua ได้กล่าวถึงการปีนขึ้นยอดภูเขาไฟฟูจิหลายต่อหลายครั้งของเขา ซึ่งได้แก่ปี ค.ศ. 1913 1919 และ 1923 และได้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในประเทศสหรัฐอเมริกา มีคำพูดหนึ่งของญี่ปุ่นที่รู้จักกันดี กล่าวเอาไว้ว่า “ใครก็ตามที่ไม่ได้ขึ้นภูเขาไฟฟูจิซักครั้งอาจจะเป็นคนโง่ แต่คนที่ขึ้นไปสองรอบนั้นจะเป็นคนโง่ที่แท้จริง” ซึ่งยังคงเป็นสิ่งที่นิยมกันในวัฒนธรรมญี่ปุ่น อีกทั้งยังปรากฏให้เห็นมากมายในภาพยนตร์หลายเรื่อง และเป็นแรงใจในการสร้างโลโก้ของยี่ห้อรถยนต์ระดับหรู “Infiniti” หรือแม้แต่บนเม็ดยาก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของภูเขาไฟฟูจิ

map-fuji
 
ภูมิศาสตร์ 
ภูเขาไฟฟูจิเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของญี่ปุ่น มีความสูงถึง 3,776.24 เมตร (12,389 ฟุต) และตั้งอยู่ทางตะวันตกของโตเกียว ใกล้ชายฝั่งแปซิฟิกของเกาะฮอนชู มีอาณาเขตครอบคลุมทั้งเขตของจังหวัดยามานาชิและชิสึโอกะ ล้อมรอบไปด้วยเมืองโกเทมบะทางฝั่งตะวันออก เมืองฟูจิโยชิดะทางเหนือ และเมืองฟูจิโนะมิยะทางฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนั้นยังมี 5 ทะเลสาบล้อมรอบ ได้แก่ ทะเลสาบคาวากูชิ ทะเลสาบยามานากะ ทะเลสาบซาอิ ทะเลสาบโมโตสุ ทะเลสาบโมโทสุ และทะเลสาบโชจิ พวกเขา อีกทั้งยังใกล้กับทะเลสาบอะชิ ซึ่งทำให้เกิดวิวทิวทัศน์ที่สวยงามจับใจ ภูเขาไฟฟูจิเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติฟูจิ-ฮาโกเนะ-อิซุ และมองเห็นได้จากที่ไกลๆอย่าง โยโกฮามา โตเกียว และบางครั้งก็ไกลขนาด ชิบะ ไซตามะ โทชิกิ และจากทะเลสาบฮามะนะในวันที่ฟ้าโปร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาว จะสามารถมองเห็นวิวภูเขาไฟฟูจิได้จากรถไฟชินคันเซ็นจนถึงสถานีอุทซึโนะมิยะ
 
สภาพภูมิอากาศ 
บนยอดภูเขาไฟฟูจิมีสภาพภูมิอากาศแบบทุนดรา หรืออากาศหนาวเย็นแบบขั้วโลก อุณหภูมิจะต่ำมากที่ระดับความสูง และบริเวณกรวยจะถูกปกคลุมด้วยหิมะเป็นเวลาหลายเดือน อุณหภูมิต่ำสุดที่บันทึกเอาไว้คือ −38.0 องศาเซลเซียส เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 1981 และอุณหภูมิสูงสุด 17.8 องศาเซลเซียส บันทึกได้ในเดือนสิงหาคมปี 1942
 
2014-09-05_115609
 
Aokigahara 
ทางเหนือฝั่งตะวันตกของฐานภูเขาไฟมีป่าชื่อ อาโอคิกาฮาระ (Aokigahara) หรือ Sea of Trees มีนิทานพื้นบ้านและตำนานต่างๆเล่าถึงปีศาจผีสางที่คอยหลอกหลอนอยู่ที่ป่าแห่งนี้ และในศตวรรษที่ 19 ป่าอาโอคิกาฮาระเป็นหนึ่งในหลายๆสถานที่ที่ครอบครัวยากจนนำเด็กเล็กและคนชรามาทอดทิ้งเอาไว้ นอกจากนั้น ป่านี้ยังขึ้นชื่อว่าเป็นลำดับที่สองของสถานที่ที่คนนิยมฆ่าตัวตายมากที่สุด รองลงมาจากสะพานโกลเด้นเกท ที่ซานฟรานซิสโก ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950 มีคนนำชีวิตมาทิ้งไว้ที่นี่กว่า 500 คน และส่วนมากก็เป็นการฆ่าตัวตาย ในแต่ละปี จะมีการฆ่าตัวตายประมาณ 30 ครั้ง และมากที่สุดในปี 2002 ที่มีเกือบ 80 ศพ อัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นล่าสุด ทำให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นนำป้ายมาติดเพื่อโน้มน้าวคนที่มีจะมาฆ่าตัวตายที่ป่าแห่งนี้ล้มเลิกความตั้งใจลง
นักเดินทางเหล่านี้ได้ทำเครื่องหมายเส้นทางโดยการใช้เทปหลากสีทำตำแหน่งเอาไว้ ทำให้เจ้าหน้าที่ที่มีส่วนดูแลรับผิดชอบเกิดความกังวลขึ้นมาเกี่ยวกับระบบนิเวศของป่า
 
การเดินทาง 
สำหรับการเดินทางไปที่ภูเขาไฟฟูจิ สนามบินใกล้เคียงที่สุดที่เปิดให้บริการคือสนามบินภูเขาไฟฟูจิ-ชิสึโอกะ ซึ่งเปิดขึ้นในเดือน มิถุนายน ปี 2009 ห่างจากภูเขาไฟฟูจิประมาณ 80 กิโลเมตร ซึ่งสนามบินนานาชาติโตเกียวหรือสนามบินฮาเนดะและสนามบินนาริตะในจังหวัดจิบะนั้นอยู่ห่างจากภูเขาไฟฟูจิหลายชั่วโมงเลยทีเดียว
เส้นทางการปีนเขา
 
fuji_03
 
ในปี 2009 มีผู้คนประมาณ 300,000 คนได้ขึ้นไปพิชิตยอดภูเขาไฟฟูจิ ช่วงเวลาที่คนนิยมมาปีนเขากันคือช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม เพราะกระท่อมที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นเริ่มมีให้บริการ รวมไปถึงรถประจำทางไปสถานที่ 5 จะเริ่มวิ่งตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม เช่นเดียวกัน หากใครคิดจะปีนเขาแห่งนี้ในช่วงเดือนตุลาคมหรือเดือนพฤษภาคมล่ะก็ มันอาจจะเป็นความคิดที่ไม่ค่อยเข้าท่านัก เพราะอัตราการเสียชีวิตที่สูงและอากาศที่หนาวเย็นอย่างโหดร้าย ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะปีนภูเขาฟูจิในเวลากลางคืน เพื่อที่จะได้อยู่ในตำแหน่งที่จะเห็นพระอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้า หรืออย่างน้อยก็ให้ได้อยู่ใกล้กับยอดเขา แสงยามเช้านั้นเรียกว่า御来光 (goraikō) หรือ “แสงแรก”
 
ทางที่จะขึ้นเขาฟูจินั้นมีทั้งหมด 4 ทางหลักจากสถานที่ 5 จนถึงยอดเขา และมีอีก 4 เส้นทางเพิ่มเติมจากตีนเขา เส้นทางเดินหลักเรียงตามเข็มนาฬิกาทั้ง 4 นั้นได้แก่เส้นทางทะเลสาบคาวากุจิ ซึบาชิริ โกเทมบะ และฟุจิโนะมิยะ ส่วนเส้นทางจากตีนเขาได้แก่ เส้นทางโชจิโกะ โยชิดะ ซึยามะ และมุรายามะ สถานีพักระหว่างทางของแต่ละเส้นทางนั้นตั้งอยู่ในระดับความสูงที่แตกต่างกัน และสถานีที่อยู่สูงที่สุดตั้งอยู่บนเส้นฟุจิโนะมิยะ คาวากุจิ ซึบาชิริ และโกเทมบะ ตามลำดับ
 
เส้นทางคาวากุจิโกะเป็นเส้นทางที่เป็นที่นิยมมากที่สุดแม้จะมีความสูงอยู่ในอันดับสอง เนื่องมาจากมันมีลานจอดรถที่กว้างขวางและกระท่อมขนาดใหญ่ที่นักปีนสามารถแวะเข้ามาพักผ่อนหรือค้างคืนได้ และในช่วงฤดูร้อน ส่วนมาก รถบัสที่ทัวร์ปีนภูเขาไฟฟูจิโดยสารมา จะเข้าวิ่งมาถึงที่คาวากุจิโกะแห่งนี้ และเส้นทางที่เป็นที่นิยมรองลงมาคือ เส้นฟุจิโนะมิยะ ที่มีสถานีพักตั้งอยู่สูงที่สุด ตามมาด้วยเส้นซึบาชิริและโกเทมบะ
 
เส้นทางที่คดเคี้ยวและกำแพงกันดินเป็นแนวตลอดทาง ช่วยลดการเข้ามาถล่มพื้นที่ของนักปีนเขาที่มีอยู่จำนวนมาก ถึงแม้ว่านักปีนเขาส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้ใช้เส้นทางซึบาชิริและโกเทมบะ หลายคนให้เหตุผลเพราะว่ามันปกคลุมด้วยเถ้าถ่านตลอดทางเดิน จากสถานีที่ 7 ไปจนใกล้ถึงสถานที่ 5 สามารถเดินทางโดยใช้เวลาเพียงประมาณ 30 นาที ข้างๆกัน เป็นทางเดินรถแทรกเตอร์ซึ่งถูกใช้เป็นพาหนะบรรทุกข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นไปยังกระท่อมบน ปกติแล้วแทรกเตอร์เหล่านี้จะวิ่งกินพื้นที่ของถนนไปซะเกือบหมด แล้วดันก้อนหินต่างๆออกข้างทาง แม้ว่าทางเดินรถนี้ไม่อนุญาตให้คนเข้ามา แต่ก็ยังเห็นมีบางคนขี่จักรยานเสือภูเขาลงมาตามทางจากยอดภูเขาฟูจิ ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่ง เพราะไม่อาจควบคุมความเร็วได้หรืออาจจะทำให้หินบริเวณนั้นตกลงมาตามทางแล้วหล่นใส่คนอื่น
 
fuji_02
 
สำหรับอีก 4 เส้นทางที่เริ่มมาตั้งแต่ตีนเขานั้น มีประวัติศาสตร์ให้ติดตาม เส้นทางมุรายามะเป็นเส้นทางที่เก่าแก่ที่สุดในการขึ้นภูเขาไฟฟูจิ และ เส้นทางโยชิดะก็ยังมีศาลเจ้าเก่าแก่มากมาย มีโรงน้ำชาและกระท่อมพักแรมอยู่ตลอดทาง เส้นทางที่กล่าวมานั้นกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และถูกซ่อมแซมเรื่อยมา อย่างไรก็ตาม การเริ่มปีนตั้งแต่ตีนเขานั้นก็ยังไม่ได้เป็นสิ่งที่พบเห็นกันทั่วไป และอีกอย่างหนึ่งก็คือระหว่างเดินขึ้นเส้นทางโยชิดะนั้น มีคนพบเห็นหมีอีกด้วย
 
การเดินขึ้นเขาจากสถานีที่ 5 สามารถไปที่ไหนก็ได้ซึ่งจะอยู่ในระยะเวลาระหว่าง 3-8 ชั่วโมง ในขณะที่การลงเขาจะใช้เวลาประมาณ 2-5 ชั่วโมง และภูเขาไฟฟูจินี้แบ่งได้เป็น 10 สถานี จากตีนเขา
 
ร่มร่อนที่ทางใต้ ชมวิวจากโกเทมบะ
กระท่อมและสถานต่างๆที่อยู่เหนือสถานีที่ 5 ขึ้นไป โดยปกติจะมีคนคอยดูแลในช่วงหน้าปีนเขา ในขณะที่กระท่อมที่ตั้งอยู่ต่ำลงไปนั้นมักจะไม่มีคนดูแลอยู่เสมอๆ ซึ่งจำนวนของกระท่อมที่เปิดให้บริการนั้นจะขึ้นอยู่กับจำนวนนักปีนเขาของแต่ละเส้นทาง ซึ่งเส้นทางคาวากุจิโกะจะมีมากที่สุด และเส้นทางโกเทมบะนั้นมีกระท่อมน้อยที่สุด อีกทั้งกระท่อมพักแรมที่เส้นทางโกเทมบะนั้นดูจะเปิดสายกว่าและปิดเร็วกว่าที่อื่นๆอีกด้วย และส่วนหนึ่งเป็นเพราะภูเขาไฟฟูจินั้นถูกออกแบบมาให้เป็นอุทยานแห่งชาติ การตั้งแคมป์พักแรมเหนือสถานที่ 5 ขึ้นไปจึงเป็นเรื่องผิดกฎหมาย
 
นักปีนเขาสามารถขึ้นไปชมจุดชมวิวที่มีทั้งหมด 8 จุดได้ ซึ่งทั้งหมดอยู่ตรงปากปล่องภูเขาไฟ จุดที่อยู่สูงที่สุดและนับว่าเป็นจุดที่สูงที่สุดในญี่ปุ่นคือ Kengamine ซึ่งเป็นที่ที่สถานีเรดาร์ของภูเขาไฟฟูจิเคยตั้งอยู่
 
พาราไกลดิ้ง (Paragliding)
พาราไกลดิ้ง หรือการร่อนร่ม จะเปิดให้บริการอยู่ใกล้ๆกับสถานีที่ 5 อยู่ระหว่างจุดชมวิวซึบาชิริและโฮอิซานซึ่งอยู่ทางใต้ของภูเขาไฟฟูจิ และยังมีเพิ่มเติมอีกหลายที่ การร่อนร่มนี้ใช้พื้นที่ลาดเอียงที่เป็นทรายและหญ้าที่อยู่ระหว่างที่จอดรถของโกเทมบะและซึบาชิริ เป็นสถานที่ฝึกการเล่นอันน่าหวาดเสียวนี้
 
อันตรายกับการปะทุในปัจจุบัน
หลังจากที่เกิดเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิในบริเวณโทโฮะกุหรือเกาะฮอนชูตอนบนในปี 2011 คนก็เริ่มจับตาดูปฏิกิริยาโต้ตอบของภูเขาฟูจิ และในปี 2012 เดือนกันยายน แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้นโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และการป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติ แนะนำว่าแรงดันของแม็กมาภายใต้ภูเขาไฟนั้นอาจมีได้ถึง 1.6 เมกกะปาสคาล ซึ่งมากกว่าที่เคยวัดได้เมื่อปี 1707 มีการเตือนต่างๆผ่านช่องทางออกมามากมายว่าภูเขาไฟฟูจิแห่งนี้ยังคงคุกรุ่นอยู่
 
main
 
ภูเขาไฟฟูจิที่สูงเสียดฟ้าตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดยามานะชิและจังหวัดชิซุโอกะ ดูยิ่งใหญ่ที่สุดเมื่อมองจากสองจังหวัดนี้ แต่ใน Ukiyo-e (ภาพพิมพ์แกะจากไม้) 36 มุมมองของภูเขาไฟฟูจิ (Fugaku sanju rokkei) ภูเขาลูกนี้วาดจากมุมมองในสถานที่ต่างๆ ที่ปัจจุบันมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดคานากาวะ โตเกียว ชิบะ อิบารากิ นากาโน และไอจิ ในงานศิลปะที่ถ่ายทอดมุมมองของภูเขาไฟฟูจิจากไอจิ ฟูจิมิกะฮาราในจังหวัดโอวาริ (Bishu Fujimigahara) นั้น มองเห็นภูเขาไฟฟูจิลิบๆ และมีขนาดเล็กมาก เวลาล่วงเลยผ่านไปหลายชั่วอายุคน คนญี่ปุ่นรู้สึกได้ถึงความปรารถนาอันแรงกล้าเมื่อเห็นทิวทัศน์ของภูเขาไฟฟูจิไกลๆ
 
นานมาแล้ว ชาวญี่ปุ่นคิดว่าภูเขาไฟฟูจิเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์และน่าอัศจรรย์ด้วยความใหญ่โตสง่างาม การเยือนภูเขาไฟฟูจิเป็นที่นิยมมากสุดในยุคเอโดะ (1603-1868) สำหรับคนธรรมดาในสมัยนั้น การเดินทางต้องใช้เงินมากทำให้การไปเยือนภูเขาไฟฟูจิเป็นแค่ความฝัน แต่หลายคนก็ไม่ละทิ้งความฝัน พวกเขารวบรวมลาวาจากภูเขาไฟฟูจิและสร้างเนินหินเล็กๆ (tsuka) ที่เป็นตัวแทนของภูเขาโดยรอบของแถบคันโตะ เนินหิน (ฟูจิซูกะ) เหล่านี้ปกติหมายถึง “โอฟูจิซัง” (คำเรียกแสดงความเคารพแก่ภูเขาไฟฟูจิ) ว่ากันว่าการปีนขึ้นไปบนเนินหินเหล่านี้คนทั่วไปจะรู้สึกเหมือนกับได้รับพรจากภูเขาไฟฟูจิอันศักดิ์สิทธิ์ ทุกวันนี้ความใฝ่ฝันที่จะปีนขึ้นภูเขาไฟฟูจิสักครั้งยังคงแรงกล้าดังเช่นในอดีต
 
412px-Ogata_Gekko_-_Ryu_sho_ten_edit
“Ryu sho ten” หรือ “Ryu shoten” (Dragon rising to the heavens) โดย Ogata Gekkō
 
ภูเขาไฟฟูจิได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว!
ในปี 1992 เริ่มมีการยื่นคำร้องขอให้ภูเขาไฟฟูจิเป็นมรดกโลก หลังจากนั้น 20 ปี ภูเขาไฟฟูจิจึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมอย่างเป็นทางการ เกณฑ์ในการตัดสินคือความสำคัญทางศาสนาและบทบาทในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับงานศิลปะจำนวนมาก นอกจากรูปลักษณ์ที่งามสง่าแล้ว ภูเขาลูกนี้ยังเป็นที่เคารพบูชามาเนิ่นนานเพราะเป็นที่สถิตของเทพเจ้า ภูเขาไฟฟูจิยังมีชื่อเสียงด้านอิทธิพลทางวัฒนธรรม โดยปรากฏในบทกวีไฮกุและทังกะ อีกทั้งยังเป็นแนวคิดหลักของภาพเขียนและ Ukiyo-e รวมถึงหัวข้องานวรรณกรรมมากมาย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :

ชื่อ บริษัท ไอแอมทัวร์ เอ็กซ์เพิร์ธ เซ็นเตอร์ อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด

ที่อยู่ 600/24 โครงการ บีสแควร์พระราม9-เหม่งจ๋าย ซ.สหการประมูล

แขวง/เขต วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310

โทร 02-530-7200 / 02-530-7202 / 02-530-7145 / 02-530-7148 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น